5619 พระพิมพ์หลวงพ่อโตเนื้อดิน หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด ปี 2475 จ.อยุธยา ลงรักปิดทอง สภาพสวยเดิมๆ พร้อมเลี่ยมกันน้ำ กว้าง 1.7 ซม. สูง 2 ซม.
พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงปู่ยิ้ม ปัจจุบันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน นั้นท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้กี่พิมพ์ทรงกันแน่ นอกจากพระงบน้ำอ้อยที่ดังไปทั่วสารทิศแล้ว จนพระเนื้อดินพิมพ์ งบน้ำอ้อย ใครๆเห็นที่ใหนก็ต้องบอกว่าเป็นของหลวงปู่ยิ้ม ไปเสียทั้งหมด มีเพียงไม่กี่คนในละแวกคุ้งน้ำเจ้าเจ็ดที่เก็บรวบรวมพระเนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม ไว้ได้ครบทุกพิมพ์ ซึ่งความนิยมของผู้สะสมที่มีไม่มากนี้ อาจทำให้มรดกทางศิลปพระเครื่อง ในอดีตของหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นสูญหายไปได้บางพิมพ์ และอาจมีการนำพระพิมพ์อื่นๆซึ่งไม่ใช่ของหลวงปู่ ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ถูกยัดให้เป็นพระเครื่องหลวงปู่ยิ้ม ได้โดยนักเล่นพระบางกลุ่ม ในการสร้างพระเนื้อดินเผา ของหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน นั้นบันทึกไว้ว่าได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2475 เจตนาเพื่อเป็นการสืบทอดและต่ออายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมีพระของหลวงปู่ยิ้มจำนวนมากมาย และหลากหลายพิมพ์แตกต่างกันออกไป ตามแต่จะหาช่างทำพิมพ์พระมาแกะพิมพ์พระให้ได้ การทำพิมพ์พระนั้น จะได้ช่างชาวบ้าน ในละแวกบ้านเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียงเช่น บ้านหนองลำเจียก มาแกะพิมพ์ให้ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีด โกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกัน ว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุ สมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของ ท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มี บางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่าง ที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน1 บาทในสมัยนั้น การแกะพิมพ์พระแต่ละ พิมพ์เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งมีฝีมือและความสวยงามทางพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไปตามความชำนาญของช่างใน ยุคนั้น นับ ได้ว่าชาวบ้านยุคนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการ ถ่ายทอด ความสวยงามทางพุทธศิลป์ ไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้เชยชมอย่างสวยงามแ